เว็บไซต์ที่ไว คือกำไรที่ไม่รอใคร
4 ก.ค. 2568
Share
เว็บช้า คือแพ้ตั้งแต่ยังไม่เริ่ม
ถ้าเว็บโหลดเกิน 3 วินาทีคนส่วนใหญ่จะปิดทันที ไม่ว่าจะคอนเทนต์ หรือเนื้อหาดีแค่ไหน
คนก็ไม่เห็น ความเร็วของเว็บ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของประสบการณ์ทั้งหมด ถ้าช้า คนไม่รอ ถ้าไว คนอยู่ต่อเว็บไม่โหลดทันที เพราะเบราว์เซอร์ทำหลายขั้น
ตอนผู้ใช้กดเข้าเว็บ เบราว์เซอร์จะค่อย ๆ โหลดข้อมูล เริ่มจากอ่านโครงสร้างเว็บ โหลดไฟล์เสริม แล้วค่อยประกอบเป็นหน้าจอที่คนเห็น
หากมีไฟล์ใดโหลดช้า หน้าจอทั้งหมดจะรอไปด้วย การจัดลำดับการโหลดจึงมีผลต่อความเร็วอย่างมากอย่าคาดเดาว่าเว็บเร็ว ให้เราใช้ข้อมูลจริง
ใช้ตัวชี้วัดจาก Google ที่เรียกว่า Core Web Vitals
เพื่อวัดว่าหน้าโหลดเร็วพอไหม กดแล้วตอบสนองทันทีหรือเปล่า มีส่วนใดกระตุกหรือขยับระหว่างโหลดไหม
ใช้เครื่องมือฟรีอย่าง Lighthouse หรือ PageSpeed Insights เพื่อดูว่าควรปรับตรงไหนก่อนรูปภาพเป็นต้นเหตุ อันดับต้น ๆ ที่ทำให้เว็บช้า
หลายเว็บไซต์ใช้ภาพขนาดใหญ่เกินจำเป็น โหลดภาพทั้งหมดพร้อมกัน และไม่ได้เลือกชนิดไฟล์ที่เหมาะกับเว็บ
เพียงแค่ย่อขนาด ใช้ไฟล์ WebP และโหลดเฉพาะภาพที่จำเป็น ความเร็วของเว็บก็เพิ่มขึ้นได้ทันทีโค้ดที่ไม่จำเป็น ทำให้หน้าเว็บค้างโดยไม่รู้ตัว
โค้ด JavaScript ที่อยู่บนสุดของเว็บ มักจะหยุดทุกอย่างไว้ก่อนโหลดเสร็จ
วิธีแก้คือ แยกโค้ดที่ไม่จำเป็นออก ให้โหลดเฉพาะเมื่อผู้ใช้ใช้งานจริง และตั้งค่าให้ทำงานเฉพาะเวลาที่จำเป็นเท่านั้นความเร็วที่เพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องเขียนโค้ดเพิ่ม
Cache คือการสั่งให้เบราว์เซอร์จำไฟล์เดิม ครั้งหน้าไม่ต้องโหลดใหม่ แค่ตั้งค่าให้ถูก เว็บไซต์ก็จะโหลดเร็วขึ้นทุกครั้งที่มีคนกลับมาแสดงส่วนที่ผู้ใช้เห็นก่อน ให้ไวที่สุด
แนวคิดนี้เรียกว่า Critical CSS คือการโหลดเฉพาะเนื้อหาที่อยู่ในมุมมองแรกของผู้ใช้
ส่วนอื่นๆ ค่อยโหลดตามมา ทำให้หน้าเว็บดูเร็วขึ้น แม้จะยังโหลดไม่ครบทั้งหมดถ้าฟอนต์โหลดช้า คนจะเห็นข้อความกระพริบ
วิธีป้องกันคือให้แสดงฟอนต์สำรองไปก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นฟอนต์จริงเมื่อโหลดเสร็จ
ลดปริมาณฟอนต์ ใช้เฉพาะน้ำหนักที่จำเป็น และโหลดฟอนต์แบบล่วงหน้า จะช่วยให้ข้อความแสดงไวขึ้นปลั๊กอินบางตัว ทำให้เว็บช้ากว่าที่คิด
ปุ่มแชร์ โค้ดวิเคราะห์ หรือแชตบอตจากบริการอื่น โหลดช้าเพราะไม่ได้อยู่ในระบบของเรา ควรตั้งให้โหลด
หลังจากหน้าเว็บแสดงเสร็จ หรือโหลดเมื่อผู้ใช้เริ่มใช้งานจริง เพื่อลดผลกระทบกับความเร็วของหน้าเว็บของเราช้า ในสายตาผู้ใช้หรือเปล่า
เครื่องมือเทสต์อาจบอกว่าเว็บเร็ว แต่ผู้ใช้จริงอาจอยู่คนละประเทศ คนละเครือข่าย หรือใช้มือถือรุ่นเก่า
การวัดด้วย Real User Monitoring จะช่วยให้เห็นปัญหาจริงที่ผู้ใช้แต่ละกลุ่มเจอ และแก้ได้ตรงจุดมากกว่าตั้งเป้าหมายให้ชัด แล้ววัดทุกครั้งที่อัปเดตเว็บ
เรียกสิ่งนี้ว่า Performance Budget เช่น ต้องโหลดหน้าเว็บภายใน 2 วินาที หรือใช้ไฟล์ JavaScript ไม่เกิน 250 กิโลไบต์
ช่วยให้ทีมพัฒนาไม่หลุดเป้าระหว่างทาง และตัดสินใจเรื่องฟีเจอร์ใหม่ได้ดีขึ้นความเร็วของเว็บคือความรับผิดชอบของทั้งทีม
ความเร็วของเว็บไม่ใช่แค่หน้าที่ของนักพัฒนา แต่นักออกแบบ คอนเทนต์ และผู้วางแผน ควรคำนึงถึงเรื่องนี้ตั้งแต่เริ่มต้น
ถ้าคิดเรื่อง performance เป็นทีม เว็บจะเร็วแบบยั่งยืน ไม่ต้องกลับมาแก้บ่อย ๆ
summary * ความเร็วของเว็บไซต์ = สิ่งที่ผู้ใช้สัมผัสได้ทันที
ธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
มักมีลูกค้าที่พึงพอใจ และกลับมาใช้งานซ้ำ
อย่าให้เว็บช้าเป็นเหตุผลที่คนไม่เลือกธุรกิจเรา
เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ แล้วปรับทีละขั้น
ความเร็วจะกลายเป็นข้อได้เปรียบในระยะยาว